นับเป็นเวลากว่า 100 ปี ที่ Longines ได้สั่งสมประสบการณ์การผลิตนาฬิกาที่มีความแม่นยำระดับสูง และก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำที่มีความเชี่ยวชาญในการจับเวลา และในฐานะนาฬิกาสปอร์ต กลไกความถี่สูงถึง 1/10 หรือ 1/100 ต่อวินาที นอกจากนี้ยังได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความแม่นยำในระดับสูงสุด โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา Longines ได้สร้างสรรค์นาฬิกาจับเวลาคุณภาพสูงออกมามากมายทั้งนาฬิกา Chronogrpah และนาฬิกาที่ได้รับการรับรองระดับ Chronometer
1914: นาฬิกาจับเวลาที่มาพร้อมกลไกความถี่สูงระดับ 5 Hz และเข็มวินาทีแบบแยกเข็ม (Cal. 19.73N)
ในปี 1914 Longines ได้ใช้กลไกความถี่สูงระดับ 1/10 ต่อวินาที บรรจุอยู่ในนาฬิกาจับเวลาแบบพกสำหรับการจับเวลาในการแข่งขันกีฬามากมาย โดยขับเคลื่อนด้วยกลไก Cal.19.73N ความถี่ 36,000 ครั้งต่อชั่วโมง นาฬิกา Chronograph รุ่นนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ประสบความสำเร็จในวงการกีฬา การทหาร และการแพทย์ ซึ่งมาพร้อมเข็มวินาทีแบบ split-second เปิดตัวครั้งแรกในปี 1922 และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านค่าเวลา 1/10 ต่อวินาที เข็ม Chronograh หมุนรอบหน้าปัดใน 30 วินาที ส่วนวงหน้าปัดย่อย 15 นาทีนั้นตั้งอยู่ตำแหน่งด้านบนตรงตำแหน่ง 12 นาฬิกา
1916: นาฬิกาจับเวลาละเอียดสูงถึง 1/100 ต่อวินาที ด้วยกลไกความถี่สูง 5 Hz (Cal.19.73N)
ปี 1916: Longines มีความสามารถในการผลิตกลไกจับเวลาได้ละเอียดสูงถึง 1/100 ต่อวินาที ซึ่งได้รับการพัฒนาจาก Cal.19.73Nโดยวิศวกรได้พัฒนาปรับปรุงความเร็วให้อยู่ที่ 360,000 ครั้งต่อชั่วโมง จึงสามารถจับเวลาได้ละเอียดสูงถึง 1/100 ต่อวินาที เข็ม Chronograph จะหมุนรอบหน้าปัดในเวลาเพียง 3 วินาที มาตรวัดรอบวงของหน้าปัดถูกแบ่งออกเป็นสเต็ปเล็ก ๆ ของ 1/100 ต่อวินาที วงหน้าปัดย่อยนาทีถูกวางที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา และสามารถวัดได้สูงถึง 3 นาที
1938: นาฬิกาจับเวลาสำหรับการแข่งกีฬาสกีความถี่สูง 5 Hz พร้อมเข็มแบบ Split-Second (Cal. 24 LINES)
เมื่อการแข่งขันกีฬาเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น Longines ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จับเวลาอย่างเป็นทางการ ในการแข่งขันกีฬาหลากหลายรายการ และในปี 1938 ได้พัฒนากลไกที่มีความแม่นยำสูงขึ้น นั่นคือ Cal. 24 lines นาฬิกาจับเวลาที่ทำงานด้วยพื้นฐานจาก Marine Chrono Cal. 24.99 นาฬิกาจับเวลาสำหรับการแข่งขันกีฬาสกี (ในรูปจากปี 1939) ความถี่ 36,000 ครั้งต่อชั่วโมง เพื่อจับเวลาอย่างละเอียดถึง 1/10 ต่อวินาที โดยเข็ม Chronograph จะหมุนหนึ่งรอบใน 30 วินาที ซึ่งช่วยให้สามารถอ่านค่าเศษวินาทีได้ โดยมาพร้อมเข็มแบบ Split-Second ที่บันทึกเวลา 30 นาที และ Pusher 3 ปุ่ม ในตัวเรือน Staybrite Steel ที่ผ่านการทดสอบใน 3 ตำแหน่ง และได้รับการชื่นชมจาก Observatory of Neuchâtelในฐานะนาฬิกาที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งหลังจากนั้น Logines ได้พัฒนาและผลิตกลไกลักษณะแบบนี้ตามมาอีกมากมาย
1957: นาฬิกาจับเวลาความถี่สูงและเข็มแบบ Split-Second จับเวลา 1/10th ต่อวินาที (Cal. 260)
เพื่อเป็นการพัฒนา Cal.24-line ปี 1938 Longines ได้เปิดตัวนาฬิกา Chronotraph ขนาดเดียวกันออกมาในปี 1957 ที่มาพร้อมวงหน้าปัดย่อย 30 นาที และระบบการหยุดเวลา โดยมีเข็มนาทีและเข็มชั่วโมง แต่ยังคงสามารถจับเวลาที่ละเอียดสูงถึง 1/10 ต่อวินาทีได้ ซึ่งต้องยกความดีให้กับกลไกที่มีความถี่สูง (ความถี่ 36,000 ครั้งต่อชั่วโมง) พร้อมด้วยฟังก์ชั่น Flyback และเข็มแบบ Split-second (ในรูปจากปี 1966) ที่มีกลไกจับเวลาแบบพิเศษพร้อมดด้วย Nonius-scale 9 ช่อง บอกการสิ้นสุดของเข็มนาฬิกา ที่จะหยุดตรงกับเส้นวินาทีรอบหน้าปัด ตัวเลขที่ฐานนั้นบอกเวลา 1/10 ต่อวินาที
1959: นาฬิกาข้อมือความถี่สูงเรือนแรกระดับ Observatory Chronometer (Cal. 360)
ในช่วงปี 1950 Longines เชื่อว่าในยุคนั้นจำเป็นต้องเพิ่มการพัฒนาในเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในโลกนาฬิกาที่มีการแข่งขันสูงเอาไว้ จากภาพวาดต้นแบบของเดือนสิงหาคม ปี 1958 ได้เปิดตัวนาฬิกาข้อมือความถี่สูงเรือนแรกออกมาในปี 1959 ด้วยกลไก Cal. 360 ความถี่ 36,000 ครั้งต่อชั่วโมง โดยผลิตขึ้นอย่างพิถีพิถันด้วยมือและได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อการแข่งขัน Observatory Chronometer Competitions เป้าหมายในการเป็นผู้นำด้านกลไกถูกแสดงออกมาให้เห็นด้วยนาฬิกา 200 เรือน จากปี 1959-1963 นาฬิกาหน้าปัดสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรือนนี้ ได้รับการพัฒนาในด้านความแม่นยำ และได้รับรางวัลที่ 1-2 ในการประกวดความแม่นยำที่ Observatory of Neuchâtel ในปี 1961 และในปีถัดมาได้รับรางวัลที่ 1-2-3 ค่าคาดเคลื่อนอยู่ที่ประมาณ 1/10 ต่อวินาทีหรือน้อยกว่า
1966: Ultra-Chron นาฬิกาข้อมือความถี่สูง (Cal. 431)
ในช่วงยุค 1960s วิศวกรของ Longines ได้พัฒนากลไกที่เข้าคู่กับความแม่นยำของนาฬิกาอิเล็กทรอนิกเรือนใหม่ ด้วยประสบการณ์ของพวกเขาในการผลิตนาฬิกาจับเวลาและการทำงานใน Observatory Chronometers ทำให้พวกเขารู้ว่า นาฬิกาความถี่สูงนั้นมีความเที่ยงตรงมากขึ้นในตำแหน่งแนวตั้งและแนวนอน และกำลังเครื่องตกน้อยลงเมื่อข้ามวัน จึงทำให้นาฬิกามีความแม่นยำมากกว่า ทว่าข้อเสียคือกำลังลานสำรองที่น้อยกว่า และปัญหาการหล่อลื่น Longines ค้นพบการแก้ไขปัญหาใน Cal.431 (ด้วยการหล่อลื่นแบบแห้งที่ได้รับการจดสิทธิบัตร) และสามารถการันตีความแม่นยำสูงเพียง 1 นาทีต่อเดือนหรือ 2 วินาทีต่อวัน เนื่องจากมีความแม่นยำมากกว่ากลไกระดับ Chronometer ที่ได้รับการรับรองโดย COSC โมเดลนี้จึงได้รับการตั้งชื่อว่า Ultra-Chron ลองจินส์ได้จดทะเบียนชื่อนี้ในเดือนตุลาคม ปี 1966 และนาฬิกา Ultra-Chron เรือนแรก ๆ ถูกวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคม ปี 1966
1968: Ultra-Chron Diver นาฬิกาความถี่สูงเรือนแรกที่ทำงานใต้น้ำ (Cal. 431)
ในปี 1967 Longiens เปิดตัวนาฬิกา Ultra-Chron เวอร์ชั่นสปอร์ต นาฬิกาดำน้ำที่มาพร้อมเข็มนาทีสีแดงสดและคุณสมบัติการกันน้ำถึง 200 เมตร ในช่วงต้นของปี 1968 นาฬิกาเรือนนี้คือนาฬิกาดำน้ำเรือนแรกที่เดินด้วยความถี่สูงและอาจเรียกได้ว่ามีความแม่นยำสูงสุด โดยทำงานด้วยกลไก Cal.431 เช่นเดียวกับนาฬิกา Ultra-Chron เรือนอื่น ๆ ที่ Longines การันตีความแม่นยำระดับสูงถึง 1 นาทีต่อเดือน ซึ่งเฉลี่ยได้เป็น 2 วินาทีต่อวัน ตัวเรือนทรง Tonneau มาพร้อมการบอกวันที่ และขอบตัวเรือนแบบหมุนได้ ซึ่งช่วยให้นักดำน้ำสามารถกำหนดเวลาในการอยู่ใต้น้ำได้ แม้ภายใต้น้ำที่ขุ่นมัว หลักชั่วโมงบนหน้าปัด สัญลักษณ์สามเหลี่ยมบนขอบตัวเรือน หรือแม้แต่ปลายเข็มวินาที (ของซีรีส์แรก) แต้มด้วยสารเรืองแสง Tritium