โครงการ Seiko Save The Ocean ในปี 2022 นับเป็นปีที่ 5 อย่างเป็นทางการ ที่ได้ร่วมสนับสนุนและฟื้นฟูรวมถึงอนุรักษ์ท้องทะเลไทย โดยนำรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายนาฬิกา Seiko Prospex มาจัดทำโครงการดีๆ เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ท้องทะเลไทยในทุกๆปี โดยโครงการ “Save The Ocean” ได้จัดทำมาแล้วอย่างต่อเนื่องมาก่อนหน้านี้แล้วถึง 4 ครั้ง ทั้งในแถบ หมู่เกาะราชา จังหวัดภูเก็ต, เกาะกระดาน จังหวัดตรัง และ Seiko Save the Ocean Project 4 บริเวณ อ่าวท่าเลน จังหวัดกระบี่
โดยปีนี้ ทีมงาน Seiko Thailand รวมถึงคณะสื่อมวลชน, เหล่าคนรักนาฬิกาไซโก และ พาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ ได้กลับมาทำโครงการบ้านปลาเพื่ออนุบาลสัตว์ทะเล ให้กับชุมชนชาวแหลมตุ๊กแก ที่บริเวณอ่าวซันไรส์ ร่วมกับชาวบ้าน และยังจัดทำแนวปะการังเทียมระยะทางกว่า 10 เมตร เพื่อนำไปหย่อนลงบริเวณอ่าวเปลว ในแถบหมู่เกาะพีพี และหวังให้เกิดเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลรวมถึงเป็นที่ยึดเกาะของปะการังจริงเพื่อสร้างความสมดุลให้กับท้องทะเลในระยะยาว
ชุมชนชาวแหลมตุ๊กแก แถบหมู่เกาะสิเหร่ เป็นชุมชนเล็กๆ ที่มีอาชีพประมงเป็นหลัก โดยทางไซโก ได้ร่วมสนับสนุนชุมชน ในการสร้างบ้านปลา เพื่ออนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็กในบริเวณอ่าวซันไรส์ที่ชาวบ้านใช้เป็นแหล่งจับสัตว์น้ำเพื่อประกอบอาชีพ จำนวนกว่า 10 หลัง เพื่อเพิ่มจำนวนสัตว์น้ำและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนในการสร้างอาชีพ โดยมีชาวบ้านและคณะ มาร่วมแสดงศิลปะพื้นเมืองของภาคใต้อย่าง “รองเง็ง” ในวันแถลงข่าวและร่วมกันทำบ้านปลาอีกด้วย
โดยครั้งนี้ Seiko ได้ร่วมกับกรมอุทธยานแห่งชาติ หาดนพรัตน์ ธารา หมู่เกาะพีพี ในการเสริมสร้างแนวปะการังเทียมเพิ่มเติม เพื่อฟื้นฟูปะการังเดิมที่ถูกทำลายไป และเพื่อเปลี่ยนแปลงธรรมชาติให้กลับมาสวยงามอีกครั้ง นำทีมโดย ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ Brand Ambassador SEIKO Thailand, มร.ฮิโรยูคิ อะกาชิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซโก (ประเทศไทย) พร้อมด้วยเจ้าที่และผู้บริหาร คุณวิเชษฐ์ ชูเชื้อ กรรมการผู้จัดการบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ทุ่งสง) และ สื่อมวลชนหลากหลายแขนง ที่ร่วมสำรวจพื้นที่ สร้างและปล่อยปะการังเทียมลงสู่ท้องทะเล โดยปะการังเทียมทั้งหมดนี้ถูกผลิตขึ้นจากซีเมนต์พิเศษขึ้นรูปโดยการใช้เทคโนโลยี 3D Printing ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรอย่าง บริษัท SCG จำกัด (มหาชน) ที่ร่วมสนับสนุนปะการังเทียมที่ผลิตจากนวัตกรรมใหม่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปะการังเทียมที่ใช้ในการปล่อยลงสู่ทะเลในครั้งนี้ มีแบบสวยงามเสมือนปะการังจริงกลมกลืนกับธรรมชาติ โดยวัสดุที่ใช้ผลิตจากปูนนั้นเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล โดยมี calaium carbonate (แคลเซียม คอร์บอเนต)ที่เป็นอาหารสำหรับตัวอ่อนปะการังใช้ดักจับจากน้ำทะเลในธรรมชาติเพื่อเอามาสร้างเป็นที่อยู่อาศัยของตนเองอยู่แล้ว โดยทาง SCG พัฒนาแบบพื้นผิวให้เหมาะสมกับการยึดเกาะตัวอ่อนปะการังและดีไซน์ให้โครงสร้างมีความซับซ้อนเพื่อให้ เหมาะให้สิ่งมีชีวิตเข้าไปอยู่อาศัยและช่วยฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลได้อย่างยั่งยืนและยาวนานกว่า
ความสวยงามใต้ท้องทะเลและความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลไทยนั้นเป็นสิ่งที่สวยงามและยากจะหาสิ่งใดมาเปรียบ นอกจากความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติจากภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบโดยตรงสู่ท้องทะเลแล้ว ปัจจัยหลักที่ทำลายธรรมชาติคงหนีไม่พ้นฝีมือของมนุษย์ ที่ยิ่งทำให้เกิดมลภาวะที่เปลี่ยนแปลงให้กับธรรมชาติ ทางบริษัท ไซโก (ประเทศไทย) หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการ ‘Seiko save the ocean’ จะเป็นโครงการเล็กๆที่ก่อให้เกิดประโยชน์และการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนให้กับชุมชนและท้องทะเลต่อไป