เจาะลึก กลไกของ A.Lange & Söhne ที่ซ่อนรายละเอียดไว้มากมาย

Words: Kitja Ruedeekhajorn

A.Lange & Söhne แบรนด์หรูจากเยอรมัน ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1845 มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ขึ้นชื่อเรื่องความสวยงามของการออกแบบ และความปราณีตในการขัดแต่งตัวเรือน, กลไก และสร้างผลงานมากมายไม่ต่างจากแบรนด์ชั้นนำทางฝั่งสวิสเซอร์แลนด์ ในบทความนี้ เรามาเจาะลึกในส่วนของงานขัดแต่งกลไกของ Cal.L095-1 ที่อยู่ใน Grand Lange 1 ว่าซ่อนรายละเอียด ไว้ภายในกลไกที่สวยงามมากมายขนาดไหน

1.Cotes de Geneve or Geneva stripe  การขัดลายเส้นเป็นแนวขนาน ใช้ตกแต่งผิวหน้าสะพานจักร
2.Ruby on gold chaton แปลว่าทับทิมในถ้วยทอง คือ เทคนิคจากศตวรรษที่ 18 , ในการวางทับทิมที่ปลายแกนเฟืองเพื่อหล่อลื่นแบบไม่ใช้น้ำมัน ทับทิมอาจจะแตกขณะอัดเข้าในแท่นเครื่อง จึงใช้ทองคำซึ่งอ่อนนุ่มกว่าเป็นเบ้ารองรับ ปัจจุบันใช้ทับทิมสังเคราะห์ซึ่งแข็งกว่า แตกเสียหายยากกว่า Lange ยังคงใช้เทคนิคนี้เพื่ออนุรักษ์งานฝีมือโบราณ
3.Blue screw ใช้สกรูเผาไฟจนเป็นสีน้ำเงิน เป็นตัวยึด Bridge กับแท่นเครื่อง และ Gold Chaton
4.Swan neck fine adjustment  อุปกรณ์ปรับความเที่ยงตรงที่ออกแบบเป็นรูปโค้งเหมือนคอหงส์ 
5.Hand engraving balance cock  แกนยึด balance wheel ของ Lange ทุกเรือน จะแกะสลักลวดลายด้วยมือ ในโรงงานมีช่างดูแลงานนี้เพียง 5 คน 
6.Angle Chamfering  ขอบมุมฉากของชิ้นส่วนกลไก จะถูกลบมุมเป็น 45 องศา พร้อมขัดเงา เป็นขั้นตอนที่ทำด้วยมือเท่านั้น ใช้เวลาและงานฝีมือชั้นสูง จึงพบเฉพาะในกลไกของนาฬิกาที่ราคาสูงเท่านั้น
7.Mirror polish or Flat-polish  เป็นการขัดเพื่อให้เกิดความเงางามดุจกระจก โดยนำชิ้นวัสดุขัดหมุนวนเป็นเลขแปดบนกระดาษทรายกากเพชร ใช้เวลาราว 2 ชั่วโมงต่อหนึ่งชิ้นงาน 

น่าทึ่งมากสำหรับกลไกนาฬิกา A.Lange & Söhne ที่ไม่ใช่เพียงแค่เครื่องบอกเวลาเท่านั้น แต่มันคือ งานฝีมือ + งานศิลปะ ที่แสดงถึงตัวตนของช่างนาฬิกา และสะท้อนแนวคิดของแบรนด์ ที่ส่งต่อให้กับนักสะสมที่หลงรักงานศิลปะที่บอกเวลาได้